พม่า

ประวัติความเป็มาประเทศเมียนมาร์

ชื่อทางการ       : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of the Myanmar)
เมืองหลวง       : เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) (เมืองหลวงเดิม คือ ย่างกุ้ง)
ศาสนาประจำชาติ   : ศาสนาพุทธ
ดอกไม้ประจำชาติ   : ดอกประดู่ (Padauk)
วันชาติ       : 4 มกราคม
วันที่เป็นสมาชิกอาเซียน : 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ภาษาประจำชาติ     : ภาษาเมียนมาร์
ภาษาราชการ      : ภาษาเมียนมาร์ 
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
          พม่ามีพื้นที่ประมาณ 657,740 ตารางกิโลเมตร
“ภูมิประเทศ”
          ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีนและทิเบต
          ทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาวและไทย
          ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับอินเดียและบังกลาเทศ
          ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
“ภูมิอากาศ”
          แบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่งสภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ โดยพื้นที่สูงจะหนาวเย็น พื้นที่ภาคกลางจะแห้งแล้งกว่าแถบชายฝั่งทะเลตอนใต้
ประชากร
          มีจำนวนประชากรประมาณ 55 ล้านคน มีหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติเมียนมาร์ รองลงมา คือ ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง  คะฉิ่น ไทยและชิน
การเมืองการปกครอง
          มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐและแบ่งเป็น  7 ภาค ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่ 
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
          เมียนมาร์เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของเมียนมาร์ ซึ่งมีการปลูกข้าวเจ้า ผัก และพืชเมืองร้อนหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการขุดแร่และน้ำมัน รวมทั้งมีเหมืองดีบุกอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา โดยมีอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรอยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ อัญมณี แร่ธาตุ และน้ำมัน
 ธงชาติประเทศพม่า



ประวัติความเป็นมาของ ธงชาติพม่า
ในอดีตอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์อลองพญาได้ใช้ธงพื้นขาวกลางมีรูปนกยูงเป็นธงชาติ เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอังกฤษโดยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2428 ธงชาติสหราชอาณาจักรจึงถูกชักขึ้นเหนือดินแดนพม่า
ต่อมาเมื่อพม่าแยกเป็นอาณานิคมโดยตรงอีกแห่งหนึ่งต่างหากจากอินเดียในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษจึงกำหนดให้ใช้ธงเรือรัฐบาล (Blue Ensign) มีตรานกยูงในวงกลมอยู่ด้านปลายธงเป็นธงประจำดินแดน ซึ่งจะต้องต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรอยู่เสมอ สำหรับธงผู้ว่าการแห่งสหภาพพม่า เป็นรูปแบบธงยูเนียนแจ๊คมีตรานกยูงในวงกลมอยู่กลางธง

ดอกไม้ประจำชาติ


ความเป็นมาของดอกไม้ประเทศพม่า

ประเทศบ้านพี่เมืองน้องของไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประวัติศาสตร์ของไทยเรา นั่นก็คือ สหภาพพม่า หรือประเทศพม่า หรือเมียนมาร์ซึ่งประเทศพม่านั้น เป็นประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านของชาวตะวันตกได้เรียกประเทศพม่านี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2532 ประเทศพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศของตนเป็น Myanmar โดยชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่สำหรับบางชาติ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ยังไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ เนื่องจากว่า ไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ โดยในปัจจุบัน หลาย ๆ คนยังคงใช้คำว่า Myanmar ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากประเทศในภาษาพม่า ว่า Myanma Naingngandaw ส่วนประชาชนชาวพม่านั้น ส่วนมากเรียกชื่อประเทศของตนเองว่า บะหม่า