ประวัติความเป็นมาของมาเลเซีย
มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากทั้งอินเดียและจีน ศูนย์กลางแห่ง อารยธรรมเก่าแก่ทั้งสองตั้งอยู่ทางตะวันตกและตะวันออก อิทธิพลนี้รุนแรงมากในบางยุคโดยเฉพาะ อิทธิพลจากอินเดีย มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยต้นและศาสนา ของตน อิทธิพลจีนจะน้อยกว่า ดังที่เราจะเห็นว่าอิทธิพลของจักรวรรดิจีนส่วนใหญ่มักจะไม่มีในทางตรง นอกจากนี้ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อมาเลเซียในประวัติศาสตร์สมัยต้น ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่มาเลเซียตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีนเท่านั้น ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์อื่น ๆ ยังช่วยเพิ่มพูนความสำคัญ ของที่ตั้งของมาเลเซียอีกด้วย ต่างจากประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศที่อยู่ครึ่งทางระหว่างอินเดียและจีน แต่น้อยประเทศที่มีข้อได้เปรียบเป็นพิเศษแบบมาเลเซีย
มาเลเซียตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรที่ยื่นออกไปทางใต้จากผืนทวีปเอเชียและ ล้อมรอบด้วยทะเลเกือบหมด ถ้าต้องการแล่นเรือออกจากเมืองจีนไปยังอินเดียก็จะต้องแล่นเลียบฝั่ง มาเลเซียทั้งทางตะวันออกและตะวันตก แต่ถ้าหากว่าไม่ต้องการแล่นเรือไปตลอดทางคาบสมุทรมลายูซึ่ง แคบในตอนเหนือก็เป็นสถานที่ที่อำนวยความสะดวกที่สุดสำหรับการถ่ายเทสินค้าจากทะเลจีนไปยัง มหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายูและชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวก็มีบทบาท สำคัญในแผนการเดินทาง ทั้งนี้เพราะลมมรสุมเป็นปัจจัยสำคัญทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ เนื่องจากมาเลเซียเป็นสถานที่ที่ลมมรสุมพัดมาบรรจบกัน แต่ในสมัยที่มีการเดินเรือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ลมมรสุมเป็นลมที่พัดจากสองทิศทางตามเวลาต่างกันในรอบปี ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดข้ามมหาสมุทรอินเดียจากเส้นศูนย์สูตรระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากฝั่งทะเลจีนและข้ามทะเลจีนระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน กล่าวได้ว่าลมมรสุมทั้งสองนี้จะมาบรรจบกันที่คาบสมุทรมลายูหรือโดยทั่ว ๆ ไปก็ในบริเวณหมู่ เกาะมาเลเซีย เรือที่แล่นมาจากเมืองจีนก็จะแล่นลงมาทางใต้ตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเรือ ที่มาจากอินเดียก็จะมาทางตะวันออกตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อลมมรสุมเปลี่ยน เรือก็สามารถ เดินทางกลับได้ ฉะนั้นคาบสมุทรมลายูและฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวจึงอยู่ในที่ตั้งที่ ได้เปรียบในการอำนวยที่จอดพักสำหรับผู้ที่จะเดินทางโดยตลอดจากอินเดียไปยังจีน หรือสำหรับผู้ที่จะ รอคอยลมมรสุมเปลี่ยนหรือสำหรับผู้ที่จะเดินทางเพียงครึ่งทางเท่านั้นแต่จะได้พบปะกับพวกพ่อค้า ด้วยกันณ “ที่พักครึ่งทาง” แห่งนี้ อาทิ พ่อค้าชาวจีนสามารถลงมาทางใต้ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน ทำธุรกิจของตนให้เสร็จเรียบร้อยแล้วเดินทางกลับได้ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน สิงหาคม
ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงก้าวเข้ามามีความสำ คัญในประวัติศาสตร์โลก เพราะมี ข้อได้เปรียบจากสภาพทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย อันที่จริงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียนับว่าเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึง ถ้าเราต้องการจะเข้าใจอดีตและแม้แต่ปัจจุบันหรืออนาคตของมาเลเซีย ภูมิศาสตร์ได้ชักนำมาเลเซียให้เข้ามาสู่เวทีประวัติศาสตร์โลก และภูมิศาสตร์ที่ไม่มีประเทศอื่นขนาบแต่ เปิดโล่งให้แก่โลกภายนอก ดังนั้น มาเลเซียจึงได้สัมผัสกับอารยธรรมต่าง ๆ และคนชาติต่าง ๆ มาก ใน ประวัติศาสตร์สมัยแรก ๆ ของมาเลเซีย คนชาติต่าง ๆ เหล่านี้นำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรม การค้าและ การพาณิชย์ ศาสนาต่าง ๆ และระบบการเมืองต่าง ๆ มาให้มาเลเซีย ต่อมาก็มีผู้คนจากอินเดียและจีนเขามา ตั้งถิ่นฐาน ในชั้นแรกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อแหล่งแร่และแหล่ง กสิกรรมของมาเลเซียถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว จึงมีผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งกันเป็น จำนวนมาก ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียยังทำให้มาเลเซียได้รับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐาน การครองชีพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียทุกวันนี้ การที่ที่ตั้งของมาเลเซียอยู่ใกล้เส้นทางการค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตก ย่อมหมายถึงว่ามาเลเซียได้เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ของยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น จากสภาพภูมิศาสตร์จึงทำให้มาเลเซียมีพลเมืองหลายชาติหลายภาษา และกลายเป็น ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย
ธงชาติมาเลเซีย
ธงชาติมาเลเซีย สำหรับธงชาติประเทศมาเลเซียนั้น ตามประวัติความเป็นมา ปรากฏว่ามีการปรับเปลี่ยนธงชาติจำนวน 3 ช่วงและ 3 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งเริ่มต้นจากธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายา ซึ่งเป็นธงชาติประเทศมาเลเซียรูปแบบแรกสุดของธงชาติประเทศมาเลเซียทั้งหมด โดยมีการเริ่มใช้ธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายาในช่วงปี พ.ศ. 2439 ลักษณะของธงชาติรูปแบบนี้จะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบสีทั้งหมด 4 สีด้วยกันซึ่งมีขนาดเท่ากันหมด เรียงจากบนลงล่างเริ่มจาก สีขาว สีแดง สีเหลือง และสีดำ ส่วนตรงกลางของผืนธง จะมีรูปตราเสือเผ่นอยู่บนพื้นที่วงกลมสีขาว แต่การชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสานั้น จำเป็นที่จะต้องชักธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายาคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วยทุกครั้งไป
หลังจากนั้นต่อมาในช่วงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ประเทศมาเลเซียก็ได้มีการเปลี่ยนจากธงชาติสหพันธ์รัฐมาเลเซีย ให้มาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบแทน โดยมีการชักธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรที่หน้าพระราชวังสลังงอร์ (Istana Selangor) และได้มีการประกาศโดยการชัดขึ้นเพื่อเป็นธงชาติรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้า จัตุรัสเอกราชในช่วงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2500 สำหรับธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบนี้ เป็นธงชาติที่ประกอบไปด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์จำนวน 11 แฉกด้วยกันภายในพื้นที่สี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน รูปแบบนี้เพื่อแทนและสื่อถึงรัฐทั้ง 11 รัฐในประเทศมาเลเซีย ได้แก่ 1.รัฐปะลิส 2.ไทรบุรี 3.เประ 4.กลันตัน 5.ตรังกานุ 6.ปะหัง 7.เนกรีเซมบิลัน 8.สลังงอร์ 9.ปีนัง 10.ยะโฮร์ และสุดท้ายคือ11.มะละกา
จนกระทั่งมาถึงในช่วงปี พ.ศ.2506 ประเทศมาเลเซียก็ได้มีการปรับเปลี่ยนและแก้ไขแบบธงชาติให้เป็นธงชาติที่ถูกใช้อยู่ในรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อว่ายาลูร์ เกลิมัง (Jalur Gemilang) หรือ “ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์” ถูกออกแบบโดยโมฮัมเม็ด ฮัมซาห์ โดยธงชาติแบบปัจจุบันจะสามารถสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีการเพิ่มเติมแถบแดงสลับขาวเป็นจำนวน 14 แถบด้วยกัน และมีการเพิ่มเติมรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เพิ่มเป็น 14 แฉกเช่นกัน เนื่องจากต้องการสื่อและแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐในประเทศมาเลเซีย เพราะประเทศมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบาห์ รัฐซาราวัก และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ในภายหลังด้วย แม้ว่าต่อมาประเทศสิงคโปร์จะมีการแยกตัวออกไป เพื่อประกาศเป็นเอกราชในภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2508 แล้วก็ตาม แต่ประเทศมาเลเซียก็ได้มีการเปลี่ยนความหมายของรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์แทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รูปแบบของธงชาติประเทศมาเลเซียก็ยังคงมีรูปรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ในจำนวนเท่าเดิม
เพลงชาติมาเลเซีย
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกบุหงารายอ หรือ ดอกพู่ระหง หรือ ดอกชบาแดง เป็นดอกของต้นชะบา ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก เนื้อไม้อ่อน หักง่าย มีความสูงตั้งแต่ 1-2.5 เมตร มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงกันอยู่ตามกิ่งก้าน ใบเป็นวงรีและเว้าเป็นแฉก ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบติดตา ทาบกิ่ง และปักชำ
ส่วนดอกของชบาหรือบุหงารายอนั้น มีลักษณะที่ดูเผินๆคล้ายดอกกุหลาบ มีกลีบดอก 5 กลีบ สีแดงสดสวยงาม เรียงกันอยู่โดยรอบฐานดอก มีก้านเกสรยาวพ้นกลีบดอกออกมาเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนเกสรจะมีสีเหลือง
คนมาเลเซียเชื่อว่าดอกชบาสีแดง จะช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ช่วยให้มีความเป็นปึกแผ่น รวมถึงเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามและสง่างามในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย ดังนั้นดอกชบาจึงถูกยกให้เป็นดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย